กระดานแสดงความคิดเห็น
Home
Contents
Articles
Quiz
Members
Sponsor
Print-friendly
MENU
ปรับปรุง : 2566-10-15 (กระดานแสดงความคิดเห็น)
เว็บเพจหน้านี้สำหรับผู้ดูแลเท่านั้น
รหัส secure
=>
นำตัวอักษร สีขาวบนพื้นแดง มาป้อนในช่องนี้
edit_topic_password =>
<center><table width=90% border=0 bgcolor=#000080><tr><td><font color=white size=4>ไอทีในชีวิตประจำวัน # 311 สตีฟจอบส์เสียชีวิตแล้ว</td></tr></table><table width=90% bordercolor=#000080 border=1><tr><td bgcolor=white><br>ไอทีในชีวิตประจำวัน # 311 สตีฟจอบส์เสียชีวิตแล้ว ()<br /> พ.ศ.นี้คนรุ่นใหม่ย่อมรู้จัก สตีฟจอบส์ หรือ สตีเฟน พอล จอบส์ (Steven Paul Jobs) เพราะเขาคือนักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ผู้ร่วมก่อตั้ง ประธาน อดีตประธานกรรมการบริหารของแอปเปิลคอมพิวเตอร์ เคยเป็นประธานกรรมการบริหารพิกซาร์แอนิเมชัน สตูดิโอส์ และคณะกรรมการบริหารบริษัทเดอะวอลต์ดิสนีย์ เกิด 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2498 และเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับอ่อนเมื่อ 5 ตุลาคม พ.ศ.2554 หลังเปิดตัวไอโฟน 4เอส (iPhone 4S) หรือไอโฟนรุ่นที่ 5 ได้เพียงวันเดียว รวมอายุได้ 56 ปี 7 เดือน ผู้คนส่วนใหญ่รู้จักเขาในฐานะผู้ก่อตั้ง และ CEO บริษัทแอลเปิล <br /> สตีฟ จอบส์ แจ้งแก่พนักงานว่าเขาตรวจพบมะเร็งตับอ่อนตั้งแต่กลางปีพ.ศ.2547 และตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งประธานบริษัทเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2554 ครั้งสุดท้ายที่เขาปรากฎตัวต่อสาธารณชนคืองานเปิดตัว iPad 2 ที่ศูนย์ศิลปะ Yerba Buena Center for the Arts เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2554 ในนครซานฟรานซิสโก สำหรับด้านการศึกษา สตีฟเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจระดับโลกที่เป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่ไม่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา เพราะลาพักการเรียนหลังจากเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาได้เพียงหนึ่งภาคการศึกษาเท่านั้น<br /> มะเร็งตับอ่อน เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่พบว่าอาจ มีปัจจัยเสี่ยงได้ดังนี้ 1) คนที่สูบบุหรี่จัด 2) คนที่มีครอบครัวป่วย เป็นมะเร็งตับอ่อน 3) ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน ซึ่งสตีฟเป็นคนที่สูบบุหรี่ และทานอาหารที่มีไขมันสูง ทำให้ตับอ่อนต้องทำงานหนักกว่าปกติ การเสียชีวิตของ สตีฟ จอบส์ และ คุณสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ก็เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับ การเสียชีวิตของคนทั้งสองสามารถนำมาเป็นบทเรียนในการดำเนินชีวิตของพวกเราให้ระมัดระวังเรื่องการกินการอยู่ แม้ชีวิตจะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน และชีวิตครอบครัว ก็ไม่ใช่หลักประกันที่จะทำให้มีอายุยืนยาวได้ การเลือกรับประทานอาหาร และใช้ชีวิตบนความไม่ประมาท อาจช่วยให้พวกเรามีอายุเกิน 60 ปี และถูกลูกหลานเรียกว่าท่านผู้เฒ่า<br /> <br><br></td></tr><tr><td align=right bgcolor=black><font color=white><small><b>จากคุณ :</b> บุรินทร์ <a href=mailto:></a><a title='118.172.102.114'>.</a><br> 07:51am (6/10/11)</font></td></tr></table></center>